งานเสวนา MODC Sustainnovation Forum 2022"เมืองเปลี่ยน คนต้องปรับ รับมือวิกฤติอย่างไร" จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 6 ทรู ดิจิทัล พาร์ค ถนนสุขุมวิท กท.
งานครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเมือง นวัตกร ทีมนักวิจัยและวิเคราะห์เมือง โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั้งนักเรียนนักศึกษาที่สนใจด้านการพัฒนาเมืองและการออกแบบที่อยู่อาศัย เข้าร่วมงานเสวนาอย่างคับคั่งเพื่อร่วมตั้งคำถาม หาคำตอบ และทำความเข้าใจทุกความเปลี่ยนแปลงของเมืองเพื่อการรับมือและการสร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ หัวข้อของเวทีเสวนายังมีความสอดคล้องอย่างมากกับนโยบายของกรุงเทพมหานครในการสร้างเมืองใหม่ ผ่านการเร่งรัดโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งถนน สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เส้นทางรถไฟฟ้า อุโมงค์เชื่อมต่อ รวมถึงโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาเมืองแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน
“วัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน MQDC Sustainnovation Forum 2022 ครั้งนี้ คือการเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครฯ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขภาวะ การบริหารเมือง การออกแบบและโครงสร้างของเมือง
โดยในเวทีเสวนาครั้งนี้ เริ่มจาก
ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร FutureTales Lab หัวข้อ “How Future Cities will be Transformed: เมืองในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไร” ฉายภาพฉากทัศน์ของเมืองแห่งอนาคต รวมถึงองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดรูปแบบเมืองพลวัตรแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Resilient City ) ตลอดจนการคาดการณ์อนาคตรูปแบบไลฟ์สไตล์ของคนเมืองในอีก 5-10 ปีข้างหน้า
• รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) หัวข้อ “Resilience Framework for Resilient City : กลยุทธ์การรับมือเพื่อเมืองแห่งอนาคต” การเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และแนวทางการรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอน ผ่าน Resilience Framework ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน (Sustainnovation) และกลยุทธ์การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และเมืองที่ยั่งยืน
• ภารุต เพ็ญพายัพ ผู้อำนวยการอาวุโส ครีเอทีฟ แล็ป (Creative Lab) และผู้อำนวยการโครงการ MQDC Metaverse หัวข้อ “From Urbanscape to Humanscape: ปรับอย่างไร ให้คนและเมืองอยู่อย่างยั่งยืน” กล่าวถึง Creative Solutions ในการสร้าง Urban Resilience ที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัย รวมถึงการกำหนดให้มนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางของการสร้างสรรค์ Urban Solution ใด ๆ ของเมือง ซึ่งต้องเป็นการสร้างสรรค์เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนเป็นสำคัญ
• เกชา ธีระโกเมน ประธานคณะกรรมการ กลุ่มบริษัท EEC และประธานกรรมการ บริษัท ยูนิซัส กรีน เอ็นเนอร์จี จำกัด หัวข้อ “Engineering model for future urbanization: โมเดลวิศวกรรมสำหรับเมืองอนาคต” นำเสนอEngineering Solutions to “Retore” and “Reverse” Climate Crisis with New Mind Set แนวทางด้านวิศวกรรมที่มีคำตอบมากมายเพื่อกู้และกลับทิศวิกฤตภูมิอากาศด้วยมุมมองใหม่