About Me

header ads

บ.ไอทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด(มหาชน)ฟ้องแพ่งบสย.ผิดนัดชำระหนี้เรียกค่าเสียหายกว่า 15ลบ.ศาลนัดชี้สองสถาน 15 พ.ค.

 


(31 มี.ค.66)ดร.เกษม ศุภสิทธิ์ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพัทยา ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท ไอทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด(มหาชน) แถลงข่าวว่า “ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 บริษัท ไอทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน)

ได้ยื่นฟ้อง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) จำเลยที่ 1 และ นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร  จำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1181/2566 ที่ศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหายจำนวน 15 ล้านบาทเศษ อันเนื่องมาจาก บริษัท ไอทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจการค้าร่วม DGI และตามข้อสัญญากิจการค้าร่วมบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการจัดซื้อและติดตั้งครุภัณฑ์(Hard ware)ทั้งหมดของโครงการจ้างพัฒนาและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้ำประกันสินเชื่อขนาดย่อม สัญญาเลขที่ 016/2561(ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2561) ซึ่งบริษัทฯได้ส่งมอบงวดงานครบถ้วนแล้ว ตั้งแต่งวดงานที่ 3 ตามความรับผิดชอบ

ของบริษัทฯ แต่จำเลยทั้งสอง ผิดนัดชำระหนี้ไม่จ่ายเงินค่าว่าจ้าง ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักกฏหมายเรื่องของกิจการค้าร่วม (Consortium) 

คือ การประกอบธุรกิจที่มีลักษณะของการร่วมกันขององค์กรธุรกิจตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป เพื่อดำเนินกิจการเข้าร่วมกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามแผนธุรกิจ โดยแต่ละฝ่ายจะใช้ความสามารถและความชำนาญในการทำงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบให้สำเร็จตามโครงการ และมีการแบ่งแยกการทำงานไว้อย่างชัดเจน โดยต่างฝ่ายต่างออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินเฉพาะของบริษัทตน

สัญญากิจการค้าร่วม เป็นเพียงการลงนามร่วมกันในการทำสัญญากับเจ้าของโครงการเท่านั้น เพราะแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบเฉพาะในส่วนของตนไม่มีการร่วมทุนหรือแบ่งปันผลกำไรหรือขาดทุนระหว่างกัน ประโยชน์ของกิจการค้าร่วม คือ ผู้ประกอบการจะสามารถคำนวณหรือประเมินความสามารถของตนในการรับงานในแต่ละส่วนได้ และจะรับผิดชอบเฉพาะส่วนงานของตนเองเท่านั้น ตัวอย่างของกิจการค้าร่วม เช่น ร่วมกันทำสัญญากับหน่วยงานภาครัฐในการขายและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ชื่อ “กิจการค้าร่วม AB” หรือ “คอนซอร์เตียม AB” ซึ่งบริษัท A รับผิดชอบในการขายอุปกรณ์(Hardware) ส่วนบริษัท B รับผิดชอบในการติดตั้งระบบ เมื่อปรากฏว่าเกิดความเสียหายจากการพัฒนาระบบจนไม่สามารถใช้งานได้อันมิใช่เกิดจากอุปกรณ์ (Hardware) ดังนั้น บริษัท B จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ศาลแพ่งได้กำหนด นัดชี้สองสถานในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566เวลา 09:00 น.และเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 กรมบัญชีกลาง มีหนังสือแจ้งบริษัทฯ ว่า ยังไม่ได้เป็นการทิ้งงาน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีสิทธิที่จะรับประมูลงานในภาคของราชการต่อไป