ทัพเพาะกายไทย ประกาศความยิ่งใหญ่ เดินหน้ากวาดเหรียญทองชิงแชมป์เอเชียวันที่สองอย่างต่อเนื่อง โดยทำเพิ่มได้อีก 9 ทอง 3 เงิน และ 2 ทองแดง ร่วม 2 วัน ได้ 13 ทอง 9 เงิน 6 ทองแดง โดยนักกีฬาที่ทำผลงานยอดเยี่ยม วันชัย กาญจนพิมาย ได้แชมป์ฟิตเนสชาย ความสูงไม่เกิน 170 ซม.เป็นสมัยที่ 13
การแข่งขันกีฬาเพาะกายและฟิตเนสชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 55 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 เป็นวันที่สองของการแข่งขัน ที่ ลัลบา คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล โดยมีการแข่งขันทั้งหมด 20 รุ่น ซึ่งทัพนักกีฬาเพาะกายทีมชาติไทยยังคงทำผลงานได้อย่างต่อเนื่อง กวาดเหรียญทองเพิ่มอย่างยอดเยี่ยม
โดยนักกีฬาที่ลงทำการแข่งขันในการแข่งขันกีฬาเพาะกายและฟิตเนสชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 55 และคว้าแชมป์เอเชีย เริ่มจาก ฟิตเนสชาย ความสูงไม่เกิน 170 ซม. วันชัย กาญจนพิมาย คว้าเหรียญทอง ไปครองเป็นสมัยที่ 13 อันดับที่ 2 เป็นของเนปาลเจ้าภาพ อันดับที่ 3 เวียดนามและอันดับที่ 4 เป็นของฮ่องกง ส่วน กิตติพันธ์ ขันทอง นักกีฬาไทยอีกคนได้อันดับที่ 5 ในรุ่นนี้
ฟิตเนสชาย ความสูงเกิน 170 ซม. ร.ต.ดำรงค์ศักดิ์ สร้อยศรี คว้าอันดับที่ 1 ได้เหรียญทองเอเชีย อีกสมัย เป็นสมัยที่ 6 อันดับที่ 2 เป็นของมาเก๊า อันดับที่ 3 เป็นของเนปาล
เพาะกายชาย น้ำหนักไม่เกิน 80 กก.ผไทวัฒน์ เอลกวัฒน์ ได้อันดับที่ 1 คว้าเหรียญทองไปครอง โดยอันดับที่ 2 เป็นของอินเดีย และอันดับที่ 3 เป็นของเนปาล
เพาะกายหญิง น้ำหนักเกิน 55 กก. จิรฐา จุฑานิชกานต์ ได้อันดับที่ 1 อันดับที่ 2 เป็นของทาจิกิสถาน และอันดับที่ 3 เป็นของอินเดีย
โมเดลหญิง ความสูงไม่เกิน 155 ซม.น้องจูน-กีรติญา จันทรัตน์ เจ้าของแชมป์ปี 2019 เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา คว้าเหรียญทอง มาครองเป็นสมัยที่ 2 โดยอันดับที่2 เป็นของเนปาล อันดับที่ 3 เป็นของอินเดีย ส่วน ยุพาพร สืบสวน นักกีฬาของไทยอีกคนได้อันดับที่ 4 อันดับที่ 5 เป็นของนักกีฬาจากฮ่องกง
โมเดลหญิง ความสูงไม่เกิน 165 ซม.หมวยเล็ก-ดลพร แทนบุญไพรัช แชมป์จากรายการเซาท์อีสต์เอเชีย2023 คว้าเหรียญทองในรุ่นนี้ไปครองเป็นครั้งแรก โดยอันดับที่ 2 เป็นของนักกีฬาจากศรีลังกา และอันดับที่ 3 เป็นของนักกีฬาจากเมียนมาร์
สปอร์ตฟิสิคชาย ความสูงไม่เกิน 180 ซม.บุลากร ดีกระโทก ได้อันดับที่1 อันดับที่ 2 และ 3 เป็นของอินเดีย
สปอร์ตฟิสิคชาย ความสูงเกิน 180 ซม.ชวินธร เทพวงษ์ คว้าเหรียญทอง มาครองได้สำเร็จโดยอันดับที่ 2 เป็นของมองโกเลีย อันดับที่ 3 เนปาล อันดับที่ 4 เกาหลีใต้ และอันดับที่ 5 มาเก๊า
แอธเลติกฟิสิคชาย ความสูงไม่เกิน 160 ซม.พงษ์ศิริ พรหมจรรย์ ทำผลงานเข้าตากรรมการคว้าเหรียญทอง อันดับที่ 2 เป็นของมาเลเซีย อันดับที่ 3 มัลดีฟส์และอันดับที่ 4 เนปาล โดยวันชัย กาญจนพิมายได้อันดับที่ 5 ในรุ่นนี้
เหรียญเงินมาจาก โมเดลหญิง รุ่นความสูงไม่เกิน 160 ซม.ศิริพร ศรช่วย ได้เหรียญเงินโดยเหรียญทองเป็นของนักกีฬาจากฮ่องกงเจ้าของตำแหน่งแชมป์โลก 2022 และอันดับที่ 3 เป็นของนักกีฬาจากอินเดีย
สปอร์ตฟิสิคชาย ความสูงไม่เกิน 175 ซม.สหรัฐ เคลือบมาศ ได้อันดับที่ 2 อันดับที่ 1 เป็นของเมียนมาร์ และอันดับที่ 3 เป็นของอุซเบกิถาน ส่วนเทพพร พวงทับทิมได้อันดับที่ 5 โดยที่ 4 เป็นของอินเดีย
แอธเลติกฟิสิคชาย ความสูงไม่เกิน 175 ซม.ธนกฤต บุญศรี ได้เหรียญเงิน โดยเหรียญทองเป็นของมาเลเซีย และอันดับที่ 3 เหรียญทองแดงเป็นของนักกีฬาจากเกาหลีใต้
เหรียญทองแดง เพาะกายชาย น้ำหนักไม่เกิน 85 กก.อิทธิภัฒฐ์ ประทีป ได้อันดับที่ 3 ส่วนที่ 1 เป็นของมัลดีฟส์ และที่ 2 เป็นของอินเดีย
สปอร์ตฟิสิคหญิง ความสูงเกิน 165 ซม.พันจ่าอากาศเอกหญิง อาจารี แท่นทรัพย์ ทำผลงานในรุ่นนี้ได้อันดับที่ 3 โดยอันดับที่1 เป็นของมาเลเซีย และที่ 2 เวียดนาม
ส่วนผลอื่นๆ เพาะกายหญิง น้ำหนักไม่เกิน 55 กก. ปุริมปรัชญ์ วรรณอภิลักษณ์ ได้อันดับที่ 4 โดยอันดับที่ 1 เป็นของเนปาลเจ้าภาพ อันดับที่ 2 อินเดีย อันดับที่ 3 เวียดนาม
สปอร์ตฟิสิคชาย ความสูงไม่เกิน 170 ซม. ณัฐนันท์ พรหมภูวงศ์ ได้อันดับที่ 4 โดยอันดับที่1 เป็นของมัลดีฟส์ อันดับที่ 2 เกาหลีใต้ อันดับที่ 3 อินเดีย และอันดับที่ 5 เป็นของศรีลังกา
ประเภทสุดท้ายของการแข่งขัน คือ มิกซ์แพร์ (คู่ผสม)
วันชัย กาญจนพิมาย+ศิริพร ศรช่วย ได้อันดับที่ 4
และร.ต.ดำรงค์ศักดิ์ สร้อยศรี-พ.อ.อ.หญิง อาจารี แท่นทรัพย์ได้อันดับที่ 5 โดยอันดับที่ 1 เป็นของฮ่องกง ส่วนอันดับที่ 2 และ 3 เป็นของนักกีฬาจากเวียดนาม
สรุปผลงานของทัพนักกีฬาเพาะกายไทยในวันที่สองทำเหรียญรางวัลได้เพิ่มอีก 9 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง รวมการแข่งขันสองวันทำผลงานได้รวมเป็น 13 เหรียญทอง 9 เหรียญเงิน 6 เหรียญทองแดง
สำหรับในวันที่ 6 ก.ย. ซึ่งจะเป็นการแข่งขันวันสุดท้ายจะมีการชิงชัยกันอีก 9 รุ่นการแข่งขันและยังคงมีนักกีฬาไทยลงทำการแข่งขันอีกเช่นกันเพื่อลุ้นเหรัยญทองเพิ่ม